26/03/2567

Fortinet แจ้งเตือนช่องโหว่ RCE ระดับ Critical บน Endpoint Management Software


    Fortinet ได้แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ในซอฟต์แวร์ FortiClient Enterprise Management Server (EMS) ที่ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเรียกใช้คำสั่งที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE) บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ได้
    FortiClient EMS ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายองค์กร และยังช่วยให้สามารถ deploy ซอฟต์แวร์ FortiClient และกำหนดโปรไฟล์ด้านความปลอดภัยบน Windows
CVE-2023-48788 (คะแนนCVSS 9.8/10 ความรุนแรงระดับ Critical)
    เป็นช่องโหว่ SQL injection ใน DB2 Administration Server (DAS) component ซึ่งถูกค้นพบ และรายงานโดย National Cyber Security Center (NCSC) ของสหราชอาณาจักร และ Thiago Santana นักพัฒนาของ Fortinet
    โดยช่องโหว่ดังกล่าวทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเรียกใช้คำสั่งที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE) บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ได้ โดยมีความซับซ้อนต่ำ และไม่ต้องมีการโต้ตอบจากผู้ใช้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ FortiClient EMS เวอร์ชัน
7.0 (7.0.1 ถึง 7.0.10)
7.2 (7.2.0 ถึง 7.2.2)
ทั้งนี้ทาง Fortinet ยังไม่ได้เปิดเผยว่ามีหลักฐานการโจมตีของช่องโหว่ CVE-2023-48788 เกิดขึ้นจริงแล้วหรือไม่
    ทีม Horizon3 ได้ออกมายืนยันถึงความรุนแรงของช่องโหว่ดังกล่าว พร้อมทั้งประกาศว่าจะเปิดเผยชุดสาธิตการโจมตี หรือ proof-of-concept exploit (PoC) ในสัปดาห์หน้า
    นอกจากนี้ทาง Fortinet ได้แก้ไขช่องโหว่ out-of-bounds write ระดับ Critical ( CVE-2023-42789 ) ใน FortiOS และ FortiProxy captive Portal ที่อาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีที่อยู่ภายในเครือข่าย ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์สามารถรันโค้ด หรือคำสั่งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากระยะไกลบนเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ได้ โดยใช้ HTTP requests ที่เป็นอันตราย
    รวมถึงช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูงอีก 2 รายการ ได้แก่ ช่องโหว่ improper access control (CVE-2023-36554) ใน FortiWLM MEA สำหรับ FortiManager และ CSV injection (CVE-2023-47534) ใน FortiClient EMS ที่ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเรียกใช้คำสั่ง หรือ code บนระบบที่มีช่องโหว่ได้
    โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 Fortinet ได้แก้ไขช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (CVE-2024-21762) ระดับ critical ในระบบปฏิบัติการ FortiOS และ FortiProxy secure web proxy ซึ่งทาง CISA ได้ยืนยันว่าช่องโหว่ดังกล่าวกำลังถูกใช้ในการโจมตี และได้สั่งให้หน่วยงานรัฐบาลกลางอัปเดตแพตซ์ช่องโหว่อุปกรณ์ FortiOS และ FortiProxy ภายในเจ็ดวัน
    ทั้งนี้ช่องโหว่ Fortinet มักถูกใช้เพื่อโจมตีเครือข่ายองค์กรในการโจมตีด้วย ransomware และ zero-day ตัวอย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 Fortinet พบกลุ่ม Volt Typhoon ของจีน ได้ใช้ช่องโหว่ FortiOS SSL VPN 2 รายการ (CVE-2022-42475 และ CVE-2023-27997) เพื่อใช้มัลแวร์ Coathanger remote access trojan (RAT) ในการวาง backdoor บนเครือข่ายทหารของกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น