WordPress (เวิร์ดเพรสส์) คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สร้างและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ประเภท Contents Management System หรือเรียกย่อๆ ว่า "CMS" ซึ่งเขียนด้วยภาษา PHP และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL โดยมีส่วนประกอบหลักๆ คือ WordPress Core เป็นซอฟแวร์หลัก ใช้จัดการเว็บไซต์ เนื้อหาและบทความต่างๆ โดยจะมีขั้นตอนการติดตั้ง ดังนี้
- ในการติดตั้ง Wordpress นั้น เราจำเป็นต้องติดตั้ง LAMP เสียก่อน โดยจะประกอบไปด้วย
- Apache2
- MariaDB
- PHP - ให้อัพเดท OS ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ด้วยคำสั่ง
sudo apt-get update - เข้าฐานข้อมูล MariaDB
mysql -u root -pสร้างฐานข้อมูลที่ชื่อว่า wordpress_db
CREATE DATABASE wordpress_db;
จากนั้น สร้างผู้ใช้ฐานข้อมูลสำหรับการตั้งค่า WordPress ของเรา
CREATE USER 'wp_user'@'localhost' IDENTIFIED BY 'password123';
ให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้ wp_user ในการเข้าถึงฐานข้อมูล wordpress_db
GRANT ALL ON wordpress_db.* TO 'wp_user'@'localhost' IDENTIFIED BY 'password123';
จากนั้นใช้คำสั่ง
FLUSH PRIVILEGES; ออกจากฐานข้อมูล exit; - ไปที่ไดเรกทอรีชั่วคราวและดาวน์โหลดไฟล์ WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด โดยใช้คำสั่ง
cd /tmp && wget https://wordpress.org/latest.tar.gz
แตกไฟล์ Wordpress
tar -xvf latest.tar.gz
คัดลอกโฟลเดอร์ wordpress ไปไว้ที่ /var/www/html/ โดยใช้คำสั่ง
cp -R wordpress /var/www/html/ตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงเพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงไฟล์และไดเรกทอรีของไซต์ได้อย่างเต็มที่โดยใช้คำสั่ง chown ต่อไปนี้:
chown -R www-data:www-data /var/www/html/wordpress/เปลี่ยนสิทธิ์การอนุญาตเข้าถึงไฟล์ของโฟลเดอร์ WordPress
chmod -R 775 /var/www/html/wordpress/สร้างไดเร็กทอรีสำหรับ uploads โดยใช้คำสั่ง
mkdir /var/www/html/wordpress/wp-content/uploads/
จากนั้นเปลี่ยนสิทธิ์การเข้าถึงของโฟล์ดเดอร์ uploads
chown -R www-data:www-data /var/www/html/wordpress/wp-content/uploads/
เปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมาแล้ว แล้วพิมพ์ https://server-ip/wordpress จะขึ้นหน้า Prepare ของ Wordpress ตามรูป - ดำเนินการติดตั้ง WordPress โดยคลิ๊กที่ปุ่ม Let's go
ใส่ข้อมูลที่เราได้ทำการสร้างไว้ในข้อที่ 3
จากนั้นกด Run the installation
ใส่ชื่อของเว็บไซต์ อีเมล์ และสร้าง User Admin สำหรับเข้าใช้งาน Wordpress ตามต้องการ
เมื่อติดตั้งเสร็จให้กดปุ่ม Login เพื่อเข้าใช้งาน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย - url สำหรับเข้าหน้า wordpress admin จะเป็น http://Server-IP/wordpress/wp-admin
เป็นอันเสร็จเรียบร้อย WordPress พร้อมใช้งานแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น