15/12/2565

Phishing attack uses Facebook posts to evade email security


พบการโจมตี Phishing รูปแบบใหม่ ใช้โพสต์บน Facebook เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจาก Email
    พบรูปแบบการโจมตี Phishing รูปแบบใหม่ที่ใช้โพสต์บน Facebook ในการโจมตี เพื่อขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ Personally Identifiable Information (PII)

ขั้นตอนการโจมตี
    ภายในเนื้อหาของ Phishing Email ที่ใช้ในการโจมตีจะระบุว่า “พบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในโพสต์บน Facebook หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 48 ชั่วโมง บัญชีนี้จะถูกลบ” พร้อมทั้งแนบลิงก์เพื่ออุทธรณ์การลบบัญชี


    โดยลิงก์ดังกล่าวคือโพสต์ที่มีอยู่จริงบน Facebook.com โดยกระบวนการนี้จะสามารถทำให้หลีกเลี่ยงการตรวจสอบจาก E-mail และทำให้สามารถส่งไปถึงเหยื่อได้โดยตรง
    รูปแบบการโจมตี Phishing นี้ มีการสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างกระบวนการโจมตี ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงเป็นโพสต์จาก “Facebook Page Support” และการสร้าง URL ที่น่าเชื่อถือจาก meta เพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัวในระหว่างที่กรอกข้อมูล โดยในแบบฟอร์มขอข้อมูลจะประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์ และชื่อผู้ใช้ใน Facebook
จากการตรวจสอบของ Trustwave พบว่ามี Phishing URL 3 รายการที่ยังออนไลน์อยู่
  • meta[.]forbusinessuser[.]xyz/?fbclid=123
  • meta[.]forbusinessuser[.]xyz/main[.]php
  • meta[.]forbusinessuser[.]xyz/checkpoint[.]php

    เมื่อกรอกข้อมูลลงไปยังลิงก์ Facebook Page Support ปลอมที่ถูกสร้างขึ้นแล้ว ข้อมูลของเหยื่อจะถูกส่งไปยังบัญชี Telegram ของ Hacker โดยที่ผู้โจมตีอาจมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อ bypass fingerprinting protections หรือคำถามด้านความปลอดภัยในขณะที่เข้าควบคุมบัญชี Facebook ของเหยื่อ จากนั้นก็จะมีการเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าสำหรับกรอก One-Time Password (OTP) ปลอมเพื่อถ่วงเวลา ซึ่งไม่ว่าเหยื่อจะกรอกรหัสใดก็ตามก็จะขึ้นว่าไม่ถูกต้อง หากเหยื่อกด 'Need another way to Authenticate?' เพื่อออกจากหน้านี้ ก็จะถูกส่งกลับไปยังหน้า Facebook.com ตามปกติ


    Trustwave รายงานว่าพบรูปแบบการโจมตี Phishing ลักษณะเดียวกันนี้อีกมากมายบน Facebook รวมไปถึง Hacker ยังได้ใช้ Google Analytics ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงโพสต์ของรูปแบบการโจมตี Phishing อีกด้วย


วิธีการป้องกัน
  • ตรวจสอบ URL ของลิงก์ทุกครั้งในการกรอกข้อมูล รวมถึงไม่กดเข้าลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
  • เข้าร่วมการ Training Cybersecurity Awareness เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการใช้งาน Social Media

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น