25/02/2568

Google Chrome และ Firefox ออกแพตซ์อัปเดตช่องโหว่ระดับความรุนแรงสูง


    Google และ Mozilla ประกาศออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยใหม่สำหรับ Chrome เวอร์ชัน 133 และ Firefox เวอร์ชัน 135 ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2025 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่มีระดับความรุนแรงสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำใน Browser
การอัปเดต Chrome ล่าสุดอยู่ระหว่างดำเนินการบน Windows, macOS, และ Linux พร้อมแพตช์สำหรับช่องโหว่ระดับความรุนแรงสูงสองรายการ และระดับความรุนแรงปานกลางหนึ่งรายการ ซึ่งทั้งหมดถูกรายงานจากนักวิจัยภายนอกองค์กร
    รายการแรกคือ CVE-2025-0999 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Heap buffer overflow ใน JavaScript Engine V8 ที่อาจถูกใช้เพื่อดำเนินการรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (Remote Code Execution - RCE) โดยทาง Google ระบุว่า ได้มอบรางวัลสำหรับผู้ที่ค้นพบช่องโหว่ (Bug Bounty Reward) ซึ่งมีมูลค่ากว่า 11,000 ดอลลาร์สำหรับช่องโหว่นี้
    โดยช่องโหว่ด้านความปลอดภัยรายการที่สอง ซึ่งมีหมายเลข CVE-2025-1426 เป็นช่องโหว่ Heap buffer overflow ใน GPU component ของ Chrome โดยขณะนี้ Google ยังไม่ได้กำหนดจำนวนเงินรางวัลสำหรับช่องโหว่นี้
    การอัปเดตล่าสุดของ Chrome รวมถึงการแก้ไขช่องโหว่ use-after-free ระดับความรุนแรงปานกลางใน Network component ซึ่ง Google ได้มอบรางวัลสำหรับผู้ที่ค้นพบช่องโหว่ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 4,000 ดอลลาร์สำหรับช่องโหว่นี้
    Google ปฏิเสธในส่วนของการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงรายละเอียดเชิงลึกของช่องโหว่ดังกล่าว และไม่ได้มีการระบุถึงเหตุการณ์ที่ช่องโหว่เหล่านี้ถูกนำไปใช้งาน ซึ่งเป็นไปตามปกติของโครงการฯ (Bug Bounty Programme)
    Chrome เวอร์ชันล่าสุดที่อยู่ระหว่างอัปเดตคือเวอร์ชัน 133.0.6943.126/.127 สำหรับ Windows และ macOS รวมถึงเวอร์ชัน 133.0.6943.126 สำหรับ Linux
    ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2025 Mozilla ประกาศแพตซ์อัปเดต Firefox เวอร์ชัน 135.0.1 พร้อมการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำที่มีระดับความรุนแรงสูง ซึ่งมีหมายเลข CVE-2025-1414 โดยมีการแจ้งเตือนเพิ่มเติมว่าช่องโหว่ดังกล่าวอาจนำไปสู่การดำเนินการรันโค้ดที่เป็นอันตราย (Code Execution) ได้
    Mozilla ระบุว่า “มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำ ใน Firefox เวอร์ชัน 135 โดยที่บางช่องโหว่เหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเสียหายในหน่วยความจำ (Memory Corruption) และทางบริษัทเชื่อว่า หากผู้ไม่หวังดีมีความพยายามเพียงพอ ช่องโหว่บางรายการเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้เพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตรายตามที่ผู้ไม่ประสงค์ดีต้องการได้”
    คำแนะนำ ผู้ใช้งานควรอัปเดต Browser Chrome และ Firefox ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดโดยเร็วที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น